注射胶原蛋白刺激剂会导致失明吗?索姆博士在《女人真棒》中揭晓答案

เมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.ฉัตรษร ลิขิตอิศรา (คุณหมอส้ม) จาก MUDAN PAVILION WELLNESS CENTER ได้รับเกียรติร่วมรายการ “ผู้หญิงยกกำลังแจ๋ว” ทาง ช่อง 3 (กด 33) ในช่วง “คุยกับหมอ” เพื่อพูดคุยในหัวข้อที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมากกับข่าว “การฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนแล้วทำให้ตาบอด” งานนี้ยังได้สามพิธีกรสุดแซ่บ คุณแพท ณปภา ตันตระกูล, คุณบูม สุภาพร วงษ์ถ้วยทอง, และ คุณปอ ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์ มาร่วมดำเนินรายการอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง พร้อมเปิดโอกาสให้คุณหมอส้มได้ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนอย่างปลอดภัย

ติดตามเนื้อหาสุดพิเศษและคำแนะนำจากคุณหมอส้มได้ที่นี่!

สารกระตุ้นคอลลาเจน คืออะไร ?

สารกระตุ้นคอลลาเจน คือ สารที่มีส่วนผสมที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนเพิ่มขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งคอลลาเจนเป็นโปรตีนสำคัญในผิวหนังที่ช่วยให้ผิวเต่งตึง ยืดหยุ่น และดูอ่อนเยาว์ ซึ่งร่างกายประกอบไปด้วยคอลลาเจน 5 ประเภท Type I, II, III, IV, V

ซึ่งคอลลาเจนที่พบมากที่สุดบนผิวหน้า คือ Collagen Type I และ Collagen Type III

  • Collagen Type I: ช่วยให้ผิวแน่น
  • Collagen Type III: ช่วยให้ผิวยืดหยุ่น

ทั้ง 2 ตัวนี้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ผิวดูอ่อนเยาว์

โดยคอลลาเจนสร้างขึ้นจากการรวมตัวของกรดอะมิโนหลายชนิด (ร่างกายจะใช้กรดอะมิโนเหล่านี้จากโปรตีนที่เรากิน) + วิตามินและแร่ธาตุ → สร้างเป็นสายโปรตีนพรีคอลลาเจน → ถูกเปลี่ยนเป็นคอลลาเจนชนิด I ในเซลล์ผิวและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

สารกระตุ้นคอลลาเจน ช่วยเรื่องอะไร ?

ช่วยให้ผิวเต่งตึง ยืดหยุ่น และดูอ่อนเยาว์ ปัจจุบันในไทยมีหลายยี่ห้อ เช่น

  • สารกระตุ้นคอลลาเจน CaHA: Calcium Hydroxylapatite เป็นแคลเซียมที่สามารถหาได้จากการนำกระดูกปลาทูน่ามาบดเป็นผงละเอียด
  • สารกระตุ้นคอลลาเจน PLLA: เป็นสารกระตุ้นคอลลาเจนตัวแรก ๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานและรับรองจาก FDA โดยสารกระตุ้นคอลลาเจน PLLA เป็นวัสดุประเภทโพลีเมอร์ที่มีความปลอดภัยกับร่างกายมนุษย์ เนื่องจากเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากพืชและเป็นนวัตกรรมเดียวกันกับไหมเย็บแผลทางการแพทย์

สารกระตุ้นคอลลาเจน PDLLA: เป็นสารโพลีเมอร์ที่สกัดมาจากธรรมชาติ และเป็นสารที่มีโมเลกุลแบบเดียวกันกับ Poly Lactic Acid (PLA) โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก PLA คือ มีส่วนพื้นผิวสัมผัสที่เกี่ยวโยงกับกระบวนการกระตุ้นคอลลาเจนของร่างกาย โดย PDLLA สามารถย่อยสลายตามกระบวนการธรรมชาติ ทางการแพทย์ PDLLA ยังถูกนำมาพัฒนาเป็นตัวส่งยาไปยังบริเวณที่ต้องการอีกด้วย

อะไรเป็นสาเหตุที่ฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนแล้วทำให้ตาบอด

จากการศึกษาเคสกรณีที่เป็นข่าวพบว่า มีการฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจน PDLLA ซึ่งเป็นสารกลุ่ม Polymers แล้วเกิดภาวะตาบอด พบว่าสาเหตุหลักมาจาก การอุดตันของเส้นเลือด โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ประเด็นสำคัญดังนี้ค่ะ

  1. การะเลือกใช้สารที่ไม่เหมาะสม : สารกระตุ้นคอลลาเจนชนิดที่นำมาใช้ฉีดในกรณีดังกล่าว ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อฉีดบริเวณรอบเบ้าตา ซึ่งเป็นจุดที่มีเส้นเลือดสำคัญ หากฉีดผิดวิธีหรือในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้สารเข้าสู่เส้นเลือดและนำไปสู่ภาวะอุดตันได้ค่ะ
  2. การอุดตันจากตะกอนของสาร : กรณีฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนกลุ่ม polymers แล้วอุดตันเส้นเลือดนี้ มักเกิดจากตะกอนของสารที่เขย่า หรือผสมน้ำได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดตะกอนขึ้นหรือ ละลายได้ไม่หมด ซึ่งกรณีนี้แตกต่างจากการฉีด ฟิลเลอร์หรือไขมัน ที่มักทำให้เกิดการอุดตัน ตลอดแนวเส้นเลือด ตั้งแต่ภายนอกไปจนถึง Ophthalmic ArteryCentral Retinal Artery ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง เช่น หนังตาตก บวมอักเสบ อัมพาตของกล้ามเนื้อตา และอาจเกิดภาวะ Skin Necrosis หากขาดเลือดไปเลี้ยงผิว
    อย่างไรก็ตาม ในกรณีดีไซเนอร์สาวที่เป็นข่าว ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ นอกจากตาบอดทันทีหลังฉีด เนื่องจากเป็น การอุดตันเฉพาะที่ ทำให้ภายนอกดูปกติ ต่างจากกรณีฟิลเลอร์หรือไขมันที่มีอาการชัดเจนกว่านี้
  3. ความชำนาญของแพทย์ผู้ฉีด : ความชำนาญและความรู้ของกายวิภาพสาสตร์ของแพทย์ผู้ทำการรักษา การฉีดกับผู้เชี่ยวชาญย่อมลดความเสี่ยงได้ดีกว่า หากฉีดกับ หมอปลอมหรือหมอเถื่อน อาจยิ่งเสี่ยงและเกิดอันตรายมากกว่าเดิม

การใช้ของปลอมคือสาเหตุที่ทำให้ตาบอดใช่หรือไม่

ไม่เกี่ยวค่ะ เพราะไม่ว่าสารอะไรที่ฉีดเข้าหน้าไม่ควรเข้าเส้นเลือด ยิ่งของปลอมยิ่งแย่เลยค่ะ อย่างเช่นสารประกอบ hyaluronic aid (HA) หากเกิดภาวะ Accident แพทย์ผู้ฉีดสามารถวินิจฉัยได้ทันที เพราะยังมีตัวยาสลายสามารถรักษาได้ทันท่วงที แต่ถ้าเป็นของปลอมยิ่งแย่เพราะไม่สามารถสลายได้

ตำแหน่งไหนที่มีความเสี่ยงตาบอดบ้าง?

การเกิดภาวะตาบอดหลังการหัตถการทางความงามสามารถเกิดขึ้นได้ หากผลิตภัณฑ์หรือสารที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายเข้าไปในเส้นเลือดที่เชื่อมต่อกับเส้นเลือดที่เลี้ยงลูกตา (Ophthalmic Artery) โดยตรง ซึ่งสามารถนำไปสู่การอุดตันของเส้นเลือดที่เลี้ยงดวงตาได้ ซึ่งตำแหน่งที่มีความเสี่ยงมีดังต่อไปนี้

  • 前额区域 ซึ่งประกอบไปด้วย Supraorbital Artery และ Supratrochlear Artery เป็นแขนงโดยตรงของ Ophthalmic Artery หากสารที่ฉีดเข้าสู่เส้นเลือดนี้ สามารถกระจายไปยัง Central Retinal Artery ได้ ซึ่งอาจเกิดการอุดตันและนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น
  • บริเวณใต้หางตา ซึ่งมี Zygomaticofacial Artery เป็นแขนงของ Lacrimal Artery และยังเชื่อมต่อกับ Ophthalmic Artery แม้จะมีขนาดเล็กกว่าบริเวณอื่น แต่ก็มีโอกาสที่จะกระจายไปยังเส้นเลือดที่เลี้ยงดวงตาได้
  • 寺庙区 จะมี Superficial Temporal Artery ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแขนงของหน้าผาก (Supraorbital และ Supratrochlear Artery) หากสารที่ฉีดกระจายไปตามเส้นเลือดนี้ อาจทำให้เกิดการอุดตันในดวงตาได้เช่นกัน
  • บริเวณร่องแก้มและหน้าแก้มจะมี Facial Artery ซึ่งเชื่อมต่อกับ Angular Artery ที่บริเวณข้างจมูก และไปสิ้นสุดที่ Dorsal Nasal Artery ซึ่งเป็นแขนงปลายสุดของ Ophthalmic Artery ส่วนใหญ่กรณีที่มีความเสี่ยงสูงจะเกิดจากการฉีดบริเวณร่องแก้มมากกว่าบริเวณจมูก เนื่องจาก Juvelook Volume ไม่ได้มีการฉีดบริเวณจมูก ยกเว้นมีการใช้งานผิดวิธี
  • 眼睛周围หรือ Periorbital Region ก็เป็นอีกจุดที่มีความเสี่ยงสูง เส้นเลือดทั้งหมดรอบดวงตาจะเชื่อมต่อกันเป็น Vascular Arcades ไม่ว่าจะเป็น Supraorbital Artery, Supratrochlear Artery, Dorsal Nasal Artery, Angular Artery, Infraorbital Artery, Zygomaticofacial Artery, Transverse Facial Artery, Zygomaticotemporal Artery, Zygomaticoorbital Artery, Medial Palpebral Artery และ Lateral Palpebral Artery ทุกเส้นเลือดที่กล่าวมาสามารถนำพาสารเข้าสู่ Ophthalmic Artery ได้ และส่งผลต่อการมองเห็นได้หากเกิดการอุดตัน

การเข้าใจตำแหน่งเส้นเลือดเหล่านี้และความเชื่อมโยงกับดวงตา เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอย่างการตาบอดนั้นเองค่ะ

วิธีแก้ไขเมื่อมีภาวะเสี่ยงตาบอด

จริง ๆ Pitfall ที่เกิดขึ้นในเคสนี้คือ อันที่ 1 คนไข้แจ้งว่ามองไม่เห็น โดยทั่วไปแพทย์จะต้องหยุดทำหัตถการทันที ตรวจรูม่านตาต่าง ๆ สำหรับการรักษา Golden Hour อาการตาบอดจากการฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนและฉีดสารเติมเต็ม คือ รักษาทันที เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรภายใน 90 นาที

จากการอุดตันเส้นเลือดด้วยสาร PDLLA คล้ายกับกรณีลิ่มเลือด (spontaneous CRAO) มากกว่ากรณีฟิลเลอร์หรือไขมันตัวเอง ด้วยเหตุผลข้างต้น ดังนั้น การทำ ocular massage อาจมี role ที่จะทำได้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ลิ่ม PDLLA หรือตะกอน Polymers อื่น ๆ กระจายไปเส้นเลือด retinal ส่วนปลาย

ส่วนการรักษาอื่น ๆ ก็คือ ลดความดันลูกตา (intraocular pressure) ไม่ว่าจะทาน Diamox, ยาลดความดัน หรือแม้แต่การทำ paracentesis คือการเจาะระบายความดัน และความดันตาที่ลดลง ก็จะช่วยให้โอกาสที่ลิ่มตะกอนที่ตันกระจายไปเส้นเลือดส่วนปลาย ๆ ได้มากขึ้น

และนอกจากนี้ คือ ให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น carbogen หรือการหายใจในถุง รวมทั้งรีบให้ oxygen เพื่อให้ retina หรือจอประสาทตาได้รับ oxygen ให้มากที่สุด

ฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนอย่างไรให้ไม่เสี่ยง ตาบอด

จากที่หมอส้มกล่าวไว้ข้างต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญ เพราะแพทย์เหล่านั้นจะรู้ตั้งแต่การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจของกายวิภาคที่แม่นยำ และหากเกิดภาวะ Accident ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที และรักษาหรือทำหัตถการกับสถานพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน มีเลขใบอนุญาตที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ตั้งใจจะฉีดฟิลเลอร์หน้าผาก ก็ต้องเลือกหรือปรึกษาหมอฉีดฟิลเลอร์หน้าผากเก่ง ๆ ชำนาญตำแหน่งนี้มาก ๆ เป็นต้น

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนมีอะไรบ้าง ?

อันดับแรก ต้องประเมินจากคุณภาพผิวก่อนว่าเราเหมาะกับการรักษาด้วยโปรแกรมฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนหรือเปล่า ทางการแพทย์จะมีเครื่องมือที่เรียกว่า facial assessment score ซึ่งในวงล้อการประเมิน คุณหมอจะทำการตรวจทุกชั้นของใบหน้า ไม่ว่าจะเป็น ชั้นกระดูก ไขมันชั้นลึก ชั้นกล้ามเนื้อ และผิวหนังด้านบน ซึ่งคนไข้สามารถประเมินและตรวจเบื้องต้นด้วยตนเองได้ จับผิวขึ้นมา หากผิวยืด บาง หลวม ๆ แปลว่าเราเหมาะสมกับการรักษาด้วยโปรแกรมกระตุ้นคอลลาเจน

ผลลัพธ์หลังจากทำหัตถการจะไม่ได้เห็นทันที การฉีดสารกระตุ้นคอลลาเจนจะเห็นผลลัพธ์อยู่ที่ 4-6 เดือน เพราะหากจะออกงาน หรือมีวันสำคัญ อาจจะต้องแพลนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน และเป็นหัตถการที่ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากฉีดผิดพลาดไป ฉีดผิดชั้น ผลลัพธ์อาจจะทำให้ผิวหนังดูไม่เรียบ ไม่สม่ำเสมอ หรือหากร้ายแรงอาจจะเกิดเป็นกรณีที่เป็นข่าวได้ หรือบางคนไม่แน่ใจว่าปัญหาของโครงหน้าต้องรักษาผิวหนังชั้นไหนกันแน่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนทำการรักษา