ช่วงหลังมานี้ผู้เขียนเห็นข่าวเกี่ยวกับฟิลเลอร์ปลอมเยอะมาก บางเคสถึงขั้นต้องรักษากันยาว ๆ จนทำให้นึกถึงอีกเรื่องที่มักมาคู่กันเสมอ นั่นคือการขูดฟิลเลอร์ โดยเฉพาะบริเวณคางและจมูกที่นิยมฉีดกันมาก ถ้าใช้ของไม่ได้มาตรฐาน หรือฉีดกับหมอเถื่อน ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่สวยอย่างที่คิด แถมยังเสี่ยงอักเสบหรือผิดรูปได้ง่าย การขูดฟิลเลอร์จึงกลายเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาสำหรับหลายคน บทความนี้จะพาไปรู้จักว่าขูดฟิลเลอร์คืออะไร เจ็บไหม และควรขูดที่ไหนดีถึงจะปลอดภัยและได้ผลดีที่สุด
ขูดฟิลเลอร์
- การขูดฟิลเลอร์ คือ
- ทำไมต้องขูดฟิลเลอร์
- ขูดฟิลเลอร์ ต่างจากฉีดสลายฟิลเลอร์ อย่างไร ?
- ขูดฟิลเลอร์ จุดไหนได้บ้าง ?
- ขูดฟิลเลอร์ เจ็บไหม ?
- ขั้นตอนการขูดฟิลเลอร์อย่างละเอียด
- ขูดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
การขูดฟิลเลอร์ คือ
การขูดฟิลเลอร์ (Filler Scraping) คือ กระบวนการการรักษาสำหรับการแก้ไขปัญหาที่มีสาเหตุมาจากภาวะการแทรกซ้อนจากการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยวิธีการรักษาทางแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดผิวหนังเพียงเล็กน้อย จากนั้นจะใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อทำการขูด และนำฟิลเลอร์ออก ซึ่งการขูดฟิลเลอร์เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับฟิลเลอร์ที่มีลักษณะเป็นก้อน และมีความแข็ง การขูดฟิลเลอร์จะเอาฟิลเลอร์ออกไม่หมด จะออกเพียงแค่ 60 – 70 % เท่านั้น
ทำไมต้องขูดฟิลเลอร์
การขูดฟิลเลอร์เป็นการผ่าตัดเปิดผิวเพื่อขูดฟิลเลอร์ที่ผิดปกติออก เหมาะสำหรับกรณีฟิลเลอร์ไหล เคลื่อนผิดตำแหน่ง หรือฉีดในปริมาณมากเกินไปจนใบหน้าผิดรูป นอกจากนี้ยังใช้แก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากฟิลเลอร์ปลอมจะมีส่วนประกอบ เช่น ซิลิโคนเหลว น้ำมันพืช หรือสารสังเคราะห์อื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารอันตราย หรือเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดผลข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวเป็นก้อน แข็ง อักเสบ หรือเกิดพังผืด และในบางกรณีจำเป็นต้องขูดออกเพื่อเตรียมผิวให้พร้อมสำหรับการฉีดฟิลเลอร์ใหม่ด้วย เพื่อให้ได้รูปหน้าที่เหมาะสมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ขูดฟิลเลอร์ ต่างจากฉีดสลายฟิลเลอร์ อย่างไร ?

ความแตกต่าง | ขูดฟิลเลอร์ | ฉีดสลายฟิลเลอร์ |
---|---|---|
วิธีการรักษา | ผ่าตัดเปิดผิว ใช้เครื่องมือขูดฟิลเลอร์ออก | ฉีดสารเอนไซม์ Hyaluronidase (HYAL) เข้าไปสลายฟิลเลอร์ |
ลักษณะฟิลเลอร์ที่เหมาะกับการรักษา | ฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์ที่จับตัวเป็นก้อนแข็ง | ฟิลเลอร์แท้ที่สลายได้ โดยเฉพาะชนิด Hyaluronic Acid (HA) |
ปริมาณที่สามารถเอาออกได้ | ประมาณ 60 – 70% เท่านั้น | ขึ้นอยู่กับปริมาณเอนไซม์ที่ใช้ และประสิทธิภาพของ HYAL สามารถสลายได้เกือบหมด |
ความรวดเร็วของผลลัพธ์ | เห็นผลทันทีหลังผ่าตัด (แต่มีรอยบวม ช้ำ) | เห็นผลบางส่วนทันที และชัดเจนขึ้นภายใน 1 – 3 วัน |
ความเจ็บปวด / การฟื้นตัว | เจ็บมากกว่า เพราะต้องผ่าตัด มีแผล ต้องพักฟื้น | เจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวไว ไม่มีแผลผ่าตัด |
ความเสี่ยง | เสี่ยงติดเชื้อ แผลเป็น หรือเกิดพังผืด | เสี่ยงน้อยกว่า แต่อาจเกิดอาการแพ้เอนไซม์ได้ในบางราย |
ใช้ในกรณี | ฟิลเลอร์แข็ง เป็นก้อน หรือใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ด้วย Hyaluronidase (HYAL) | ฟิลเลอร์แท้ที่ต้องการสลายบางส่วนหรือทั้งหมด |
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ที่นี่ https://www.mudanpavilion.com/filler/3993/
ขูดฟิลเลอร์ จุดไหนได้บ้าง ?
การขูดฟิลเลอร์สามารถทำได้ในหลายตำแหน่งบนใบหน้า โดยขึ้นอยู่กับว่าเคยฉีดฟิลเลอร์ไว้บริเวณใด และเกิดปัญหาจากฟิลเลอร์บริเวณไหนบ้าง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมก่อนการผ่าตัด โดยจุดที่นิยมขูดฟิลเลอร์ได้ มีดังนี้
ตำแหน่ง | รายละเอียด |
---|---|
ใต้ตา | แก้ไขปัญหาฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือเกิดรอยคล้ำ/บวมผิดปกติ |
แก้ม | ฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็ง หรือฉีดมากเกินไปจนแก้มดูบวมไม่สมส่วน |
ขมับ | ฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง เกิดการไหลหรือบวมแข็ง |
หน้าผาก | ฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้นผิว เกิดการเคลื่อนตัว หรือผิวขรุขระ |
คาง | ฟิลเลอร์ปลอม หรือฟิลเลอร์แข็งที่ทำให้รูปคางผิดรูป |
จมูก | โดยเฉพาะกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์ปลอมหรือฉีดผิดตำแหน่งจนจมูกดูผิดรูป |
ริมฝีปาก | แก้ปัญหารูปปากผิดรูป ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน หรือปากดูหนาบวมผิดปกติ |
การขูดมีความเสี่ยง เช่น บวม ช้ำ หรือเกิดพังผืด จึงควรทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เท่านั้น
ขูดฟิลเลอร์ เจ็บไหม ?
การขูดฟิลเลอร์อาจจะมีอาการเจ็บปวดในบางครั้ง ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทฟิลเลอร์ที่ฉีด เทคนิคของแพทย์ การฉีดยาชา และการรับรู้ความรู้สึกของแต่ละบุคคล

ขั้นตอนการขูดฟิลเลอร์อย่างละเอียด
- การประเมินและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลฟิลเลอร์ที่ฉีดไป ทั้งชนิด ปริมาณ ตำแหน่ง และระยะเวลาที่ฉีด พร้อมตรวจสอบระดับความเสียหายหรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อรอบข้างที่เกิดจากฟิลเลอร์
- การเตรียมตัวก่อนหัตถการ (ผู้เข้ารับการรักษา) ผู้ป่วยจะต้องงดการรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน วิตามินอี หรือสมุนไพรบางชนิด ประมาณ 2-3 วันก่อนหัตถการ รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อผิวหนัง แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาอย่างละเอียดและทั่วถึง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ต้องการขูดฟิลเลอร์ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำหัตถการ
- ขั้นตอนการขูดฟิลเลอร์
- การกรีดเปิด: แพทย์จะทำการกรีดเปิดผิวหนังขนาดเล็กบริเวณที่ฟิลเลอร์อยู่ หรือใกล้เคียงกับตำแหน่งของฟิลเลอร์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงก้อนฟิลเลอร์ได้
- การระบุตำแหน่งฟิลเลอร์: แพทย์จะใช้เทคนิคและความชำนาญในการระบุตำแหน่งและขอบเขตของก้อนฟิลเลอร์อย่างแม่นยำ
- การขูดออก: ใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กที่เหมาะสม (เช่น มีดผ่าตัด หรือเครื่องมือเฉพาะทาง) ค่อยๆ ขูดฟิลเลอร์ที่จับตัวเป็นก้อนหรือฟิลเลอร์ที่เกาะติดกับเนื้อเยื่อออกอย่างระมัดระวัง
- เย็บปิดแผล ทำความสะอาดแผลและเย็บปิดบาดแผลอย่างประณีต เพื่อให้แผลหายเร็วและลดการเกิดรอยแผลเป็น

ขูดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
อย่างที่ทราบ การขูดฟิลเลอร์ เป็นหัตถการที่ต้องมีการผ่าตัด และขูดเพื่อเอาฟิลเลอร์ออก ทำให้ต้องอาศัยความชำนาญ และเทคนิคของแพทย์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรมีการเลือกคลินิก และสถานพยาบาลที่มีลักษณะ ดังนี้
- คลินิก หรือสถานพยาบาลต้องมีใบอนุญาตสถานพยาบาลและเลขที่อนุญาตจำนวน 11 หลัก อย่างชัดแจน และต้องสามารถตรวจสอบได้
- ทีมแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ และต้องมีความชำนาญในการรักษาเกี่ยวกับการขูดฟิลเลอร์
- คลินิก หรือสถานพยาบาลต้องมีการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน สะอาด และมีการตรวจความพร้อมสำหรับการใช้งานเสมอ
- คลินิกต้องมีบริการให้คำปรึกษา และสามารถตอบคำถามกับคนไข้ได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
- ต้องมีรีวิวจากผู้เข้าใช้บริการจริง โดยเฉพาะเคสที่เกี่ยวกับการขูดฟิลเลอร์คาง จมูก
- คลินิก หรือสถานพยาบาลต้องตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง เพื่อง่ายต่อการรักษา
- สถานบริการต้องได้มาตรฐาน และมีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการรักษา เพื่อความปลอดภัย